การเลี้ยงลูกให้เข้ากับสังคมยุคนี้

 ยุคนี้เป็นยุคที่ ทุกสังคมมีการแข่งขันไม่ว่าจะเป็นการเรียนหรือการทำงาน แม้กระทั่งการใช้ชีวิตปกติในสังคม และสิ่งที่สำคัญคือในปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีและความเจริญรุ่งเรืองเกิดขึ้นมากมายโลกโซเชียลเป็นสิ่งที่หลายคนพูดถึงและเป็นสิ่งที่เราทุกคนใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ การมีเทคโนโลยีและความทันสมัยทางด้านเครื่องมือสื่อสาร รวมไปถึงความล้ำหน้าทางด้านนวัตกรรมต่างๆเป็นข้อดีที่ทําให้สังคมและโลกของเราเจริญขึ้นแต่สิ่งหนึ่งที่เราปฏิเสธไม่ได้คือความเจริญย่อมมาพร้อมกับความเสื่อมเมื่อเทคโนโลยีเจริญขึ้นแต่อีกมุมหนึ่งกลับเสื่อมลงคงไม่ต้องบอกหลายคนก็คงจะเดาได้ว่าสิ่งที่เสื่อมโทรมลงไป คือสังคมของเรานั่นเอง

สิ่งที่ต้องแลกมากับความทันสมัยและความสะดวกสบายคือความเสื่อมโทรมทางสังคมที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน เราใช้มือถือกันมากขึ้นจนหลายคนเรียกว่าสังคมก้มหน้าเราให้ความสำคัญกับโลกออนไลน์มากกว่าการที่จะได้พบปะพูดคุยและเปลี่ยนบทสนทนาและถามไถ่สารทุกข์สุขดิบกันแม้กระทั่งบนโต๊ะอาหารในบ้านที่พ่อแม่ลูกควรจะได้พูดคุยกันอย่างมีความสุข แต่ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่หรือลูกกลับก้มหน้าก้มตาอยู่กับมือถือและอยู่ในสังคมของตนเองหรืองานที่กำลังทำไม่ว่าจะเป็นการติดต่อลูกค้าหรือจะสั่งงานผ่านทางโทรศัพท์มือถือนั่นเองทำให้ในปัจจุบันนี้มีปัญหาหนึ่งเกิดขึ้นในสังคมนั้นก็คือปัญหาการแยกตัวจากสังคมนั่นเอง

ทำอย่างไรเราจึงจะดูแลลูกไม่ให้เป็นคนแยกตัวจากสังคม

  • สรางภูมิคุ้มกันเพื่อเป็นเกราะป้องกันภัยทางความคิดและอารมณ์ สร้างความแข็งแกร่งในจิตใจให้กับคนที่เรารักด้วยการทำความเข้าใจทุกๆเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตรวมไปถึงให้ความรักความอบอุ่นและสัมผัสกันด้วยการโอบกอดอยู่เสมอเพราะนี่คือเป็นสิ่งที่จะสร้างพลังใจให้ใครคนใดคนหนึ่งเข้มแข็งขึ้นมาได้
  • สิ่งที่ต้องทำคือ หมั่นพาลูกของคุณไปเล่นที่สนามเด็กเล่นหรือไปเจอเพื่อนในวัยเดียวกันในสังคมใดสังคมหนึ่งซึ่งการที่ลูกน้อยได้เจอสังคมเขาจะรักความรู้สึกสนุกสนานที่ได้เจอเพื่อนฝูง ทำให้ไม่รู้สึกแปลกแยกและปรับตัวเข้ากับสังคมได้ง่าย
  • อย่าคาดหวังกับผลการสอบของลูกหรือส่งลูกไปเรียนกวดวิชาจนเยอะแยะมากมายเกินไปเพราะอยากให้ลูกสอบติดในโรงเรียนที่ดีหรือคณะดีๆรวมทั้ง คาดหวังให้ลูกทำอาชีพที่พ่อแม่ต้องการเพราะสิ่งต่างๆเหล่านี้อาจจะทำให้ลูกของคุณเกิดความรู้สึกอึดอัดและกดดันจนไม่อยากจะพบเจอใครในสังคมรวมกระทั่งตัวพ่อแม่เอง
  • ปลูกฝังทัศนคติที่ดี ฝึกนิสัยการยอมรับความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นจริงได้ในชีวิตของเราแล้วไม่กล่าวโทษไม่กดดันในกรณีที่มีเรื่องที่ไม่ดีเกิดขึ้นกับคนในครอบครัวเป็นต้น